โรงงานผลิตคีออส บูธ ขายสินค้า ครบวงจร ออกแบบ ผลิต ติดตั้ง

เราให้บริการ ด้านการออกแบบคีออสและบูธ แสดงสินค้า ด้วยทีมงานนักออกแบบ มืออาชีพ ที่มีประสบการณ์ด้านการ จัดแสดงสินค้า โดยเฉพาะ โดยเรามีโรงงานและทีมงาน ผลิตเป็นของเราเอง จึงทำให้ลูกค้า มั่นใจได้ว่า ราคาที่ผลิตเป็นราคาจากโรงาน โดยตรง

คีออส หรือ บูธ ขายสินค้าเป็นที่นิยมในธุรกิจขายปลีกในปัญจุบัน เป็นอย่างมาก เพราะช่วยส่งเสริมการขายได้เป็นอย่างดีในปัญจุบัน มักผลิตจาด โครงเหล็กและไม้ MDF ปิดด้วยผิวลามิเนต เพื่อความสวยงาน โดย 33production มุ้งเน้นการผลิตคีออส ให้มาราคาถูก เพื่อช่วยลดต้นทุนของลูกค้าได้เป็นอย่างดี

ออกแบบ

เรามีทีมออกแบบ kiosk-คีออส มืออาชีพ คอยให้บริการคุณ
พร้อมให้คำปรึกษาในด้านต่างๆก่อนเริ่มผลิต

ดูเพิ่ม

 

20-45วัน

สำหรับระยะเวลาการผลิต ขึ้นอยู่กับรายละเอียดของคีออส โดยทั่วไปจะใช้ระยะเวลาไม่เกิน 45วัน /ต่อ1ร้าน

ดูเพิ่ม

บริการติดตั้งหน้างาน

เรามีทีมสำหรับติดตั้งหน้างานไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ทั่วไป หรือในห้างต่างๆ
ด้วยทีมงานมืออาชีพ

 

จัดทำ และ จำหน่าย kiosk-คีออส เคาน์เตอร์บาร์ / กาแฟ หากกำลังมองหา kiosk-คีออส เคาน์เตอร์ มีแบบให้เลือก มากมาย หรือ สั่งทำตามรูปแบบที่ท่านต้องการ โดยเน้นงานที่ให้ประโยชน์อย่าง คุ้มค่า – คุ้มราคา วัสดุที่ใช้เป็นไม้เนื้อดีเป็นโครงสร้างเพื่อความแข็งแรงของตัว คีออส ก่อนที่จะปิดผิวด้วย ไม้อัดยาง แล้วพ่นสีเคลือบเงา เพื่อความ สวยงาม  ลักษณะการเข้าไม้ เป็น แบบ มาตรฐาน งาน เฟอร์นิเจอร์ มีการประกอบอย่างแน่นหนา ทำให้คีออสแข็งแรง ไม่บิดตัวเสียทรงเมื่อใช้ไปนาน ๆ ตัวเสาป้ายเมนูทำจากส แตนเลสเงา ช่วยสร้างความน่าสนใจ และ ช่วยดึงดูดลูกค้า

ให้บริการด้านการ ผลิต และ ออกแบบ เฟอร์นิเจอร์ เคาน์เตอร์ คีออส โดยทีมงาน มืออาชีพ ทั้งร้านค้าขนาดเล็กและขนาดใหญ่งานทำจากไม้จริง แข็งแรง ทนทาน รวมถึงงานตกแต่งร้านและจำหน่ายอุปกรณ์ด้านโฆษณาอย่างครบวงจร มีแบบมาตรฐานให้คุณเลือกมากกว่า 20 แบบ ไม่ว่าคุณต้องการเปิดร้านอะไร เรายินดีให้คำปรึกษา และแนะนำ ด้วยประสบการณ์มากกว่า 100 ร้านค้าทำให้รู้ถึง แนวทางการออกแบบ เพื่อให้สวยงาม และ โดดเด่น ด้วยประโยชน์การใช้สอยอย่างเต็มที่และราคาที่เหมาะสม

ผู้ผลิตและจำหน่ายเฟอร์นิเจอร์ไม้ที่มีความชำนาญมากว่า 25 ปี ทางร้านมีเฟอร์นิเจอร์มากมายหลากหลายชนิดไว้บริการ อาทิเช่น โต๊ะเก้าอี้สำหรับร้านกาแฟร้านอาหาร เก้าอี้บาร์ เก้าอี้สำนักงาน เก้าอี้พับ โต๊ะพับ โต๊ะญี่ปุ่น โต๊ะกลาง โต๊ะกาแฟ โต๊ะอาหาร คีออสกาแฟ เคาน์เตอร์กาแฟ คีออสขายของ เคาน์เตอร์ขายของ ชั้นหนังสือ ชั้นเข้ามุม เตียงผ้าใบ เตียงชายหาด เตียงนวดเท้า เตียงสปา เสาแขวนสูท ตู้รองเท้า ชั้นรองเท้า เฟอร์นิเจอร์เพนท์ลาย เฟอร์นิเจอร์เพนท์สี เฟอร์นิเจอร์ย้อนยุค

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

ตัวอย่างงาน kiosk-คีออส

(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});
(adsbygoogle = window.adsbygoogle || []).push({});

ตกแต่งร้านขายยา , ออกแบบคลินิก , ออกแบบร้านขายยา , ตกแต่งร้านยา - การออกแบบร้านให้เพิ่มยอดขาย

ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อเราเข้าใจว่าจำเป็นที่จะต้องปรับร้านให้เข้ากับลักษณะของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย เราจะต้องมาคิดถึงหน้าตาของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของเรากัน เริ่มต้นตั้งแต่เรื่องของวัยของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย อาจเป็นวัยรุ่น วัยทำงาน วัยที่เลื่อนขั้นเป็นระดับหัวหน้างาน หรือวัยอาวุโส ลูกค้าแต่ละวัยเลือกซื้อประเภทสินค้าไม่เหมือนกัน วัยรุ่นอาจจะซื้อสินค้ากลุ่มยาคุมกำเนิด ถุงยางอนามัย เครื่องสำอางมากเป็นพิเศษ ในขณะที่ไว้ทำงานก็อาจมองหาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเพื่อช่วยให้มีกำลังวังชาหรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ที่ช่วยชะลอวัย ในขณะที่ระดับอาวุโสต้องการอาหารเสริมที่ช่วยบำรุงอวัยวะเฉพาะแต่ละอย่างของร่างกาย แค่เรื่องวัยอย่างเดียวก็มีผลต่อการเลือกสินค้าเข้าร้านแล้ว นี่ยังไม่นับเรื่องของการตกแต่งให้เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละวัยอีกนะครับ

เมื่อลูกค้าเดินเข้ามาในร้าน มีความจำเป็นจริงๆที่จะต้องออกแบบบรรยากาศในการซื้อ ให้เรานึกถึงประสาทสัมผัสทั้ง 5 ของเรา การมองเห็น การได้ยิน กลิ่น สัมผัส หรือแม้กระทั่งรสชาติ (เช่น การลองให้ชิม)

ดังนั้นในการออกแบบอาจจะต้องลองพิจารณา เช่นการทำร้านยาให้มีบรรยากาศที่แปลกใหม่ การออกแบบอาจจะมีความแตกต่างไปจากร้านยาอื่นๆที่ลูกค้าเคยเดินเข้าไปซื้อ อาจจะมีสินค้าที่หาได้เฉพาะร้านนี้เท่านั้น มีเสียงดนตรีเปิดคลองเพื่อให้ระหว่างที่เลือกซื้อมีความสบายใจและผ่อนคลาย อาจมีป้ายแสดงณจุดขายที่มีคำโปรยเล็กๆง่ายๆมีขนาดใหญ่พอเตะตา หรือแม้กระทั่งมีเสียงขานรับเมื่อลูกค้าเดินเข้าร้าน

เทคนิคประการหนึ่ง ที่ร้านขายปลีกชั้นนำได้นำมาพิจารณาเลือกใช้เพื่อช่วยเพิ่มยอดขายก็คือ การนำศาสตร์แห่งการจัดวางสินค้ามาปรับใช้กับร้านเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพในการขายมากที่สุด (ภาษาอังกฤษเรียกว่า ISM = In-Store Merchandising)

หลักการของมันก็คือ การเพิ่มพื้นที่วางสินค้าด้วยว่างสินค้าให้ลูกค้าเห็นได้ง่ายจะนำไปสู่การเพิ่มยอดขาย โดยประกอบไปด้วย 3 องค์ประกอบคือ การจัดเรียงสินค้าจำนวนมากให้อยู่ในกลุ่มก้อนเดียวกัน การจัดวางสินค้าไว้ในที่สะดุดตา การจัดสินค้าให้มองเห็นหีบห่อได้ชัดเจน

ลงมาดูอีกแผนภาพ ซึ่งเป็นการสรุปแผนที่การตัดสินใจของลูกค้า เขียนตัวย่อเป็นภาษาอังกฤษว่า “AIDeCA” ที่มาของตัวย่อมีดังนี้

A = Awareness หรือ การตระหนักรู้ คือเริ่มมองเห็นว่ามีอะไรน่าสนใจ
I = Interest หรือการให้ความสนใจ
De = Desicion หรือการตัดสินใจ
C = Comparison หรือการนำมาเปรียบเทียบกับสินค้าอื่นๆ
A = Action ซึ่งหมายถึงการตัดสินใจซื้อ

ตะกร้าช่วยปลุกวิญญาณนักช้อป

การที่ลูกค้ามีตะกร้าอยู่ในมือ ลูกค้าจะรู้สึกว่าจะต้องซื้ออะไรสักอย่าง ซึ่งมีงานวิจัยอยู่เช่นกัน ว่าร้อยละ 75 ของลูกค้าที่ถือตะกร้าจะซื้อของ (คิดเป็น 1 ใน 4 เลยเชียวนะ) ในขณะที่ลูกค้าที่ไม่ถือตะกร้ามีเพียงร้อยละ 35 เท่านั้นที่ซื้อของ เห็นตัวเลขนี้แล้วก็น่าจะต้องลองหาตะกร้าเล็กๆตั้งไว้หน้าร้านนะดูนะครับ

การจัดรูปแบบการวางสินค้าช่องทางเข้า

ร้านก็มีโอกาสเพิ่มโอกาสขายได้ ยกตัวอย่างเช่น การจัดสินค้าตามฤดูกาล การจัดเครื่องสำอางสีสดใสไว้ใกล้ๆทางเข้าร้าน อย่างที่เราอาจจะเห็นได้อยู่เป็นประจำในร้านยาเครือข่ายคือร้านขายปลีกที่มีการบริหารอย่างเป็นระบบ

แน่นอนว่าผัสสะแรกที่ลูกค้าใช้เมื่อเดินเข้าร้านของเรา

คือการใช้สายตามองกวาดไปรอบๆ ร้าน ดังนั้นเราจึงต้องทำอะไรบางอย่างให้สะดุดตา ยกตัวอย่างเช่นการใช้สีดึงดูดสายตา การตกแต่งมุมที่นั่นด้วยสีเด่นเด่นไม่ซ้ำกับจุดอื่นสำหรับสินค้าที่เลือกซื้อเองได้ การจัดรวมสินค้าที่เป็นแพคเกจเดียวกันปริมาณมากๆเช่นแผนกเครื่องสำอางอาจจะใช้สีชมพู แผนกยาใช้สีน้ำเงินหรือสีเขียวซึ่งเป็นสีของการเยียวยา จะว่าไปแล้วสีแต่ละเฉดก็จะมีความหมายที่สื่อออกมาแตกต่างกัน ซึ่งคิดว่าน่าจะเป็นการบ้านให้สำหรับทุกคนไปศึกษาต่อดู

ลูกค้าพอเดินเข้ามาในร้าน โดยปกติจะกวาดสายตาเป็นรูปตัว Z (คุณอาจไม่รู้ตัวล่ะสิ) งานวิจัยหลายชิ้นได้ผลออกมาว่าลูกค้าจะเลือกซื้อสินค้าในระดับสายตาเป็นหลัก และสินค้าที่อยู่ในด้านขวาจะขายดีกว่าสินค้าที่วางอยู่ด้านซ้าย ดังนั้นจึงเป็นแนวทางในการจัดวางสินค้าที่เราต้องการที่จะโปรโมทเป็นพิเศษได้

แล้วระหว่างที่ลูกค้าอยู่ในร้านของเรานั้น ต้องทำให้ลูกค้าสนุกกับการซื้อ ยกตัวอย่างเช่น การทำการตกแต่งให้ดูน่าสนใจ การจัดทรงการเรียงสินค้า หรือแม้แต่การใช้ตุ๊กตาแต่งร้านก็มีผลบ้างเหมือนกัน แต่ทั้งนี้ก็ขอให้พิจารณาให้เข้ากับบุคลิกของร้านและกลุ่มลูกค้าเป้าหมายด้วย

มีงานวิจัยเกี่ยวกับร้านค้าปลีกในญี่ปุ่นออกมาว่า แค่เพียงเพิ่มระยะเวลาทางเดินรวมในร้านจาก 20 เมตรไปเป็น 25 เมตร เมตรทำ เมตรทำให้ร้านสามารถเพิ่มยอดขายได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 60 เลยทีเดียว

เห็นตัวเลขแบบนี้กัน ก็น่าจะลองกลับไปพิจารณาดูว่า ในบ้านของเรามีการใช้สื่อโฆษณาอะไรอยู่บ้าง จะเพิ่มอะไรได้อีกบ้างหรือไม่ จะปรับวิธีการโชว์สินค้าได้บ้างอย่างไร แล้วจะทำอย่างไรให้ทางเดินในร้านมีความยาวเพิ่มขึ้น … หากนึกไม่ออกอาจจะลองหยุดงานไปเดิน IKIA ดูหน่อยก็ได้ ที่นั่นพื้นที่ภาคตัดขวางอาจจะไม่เยอะมาก ต้องเดินด้วยระยะทางหลายกิโลเมตรทีเดียวกว่าจะไปถึงทางออก (จริงๆแล้วก็เป็นหลักหลายร้อยเมตรเท่านั้นหละครับ …. แซวเค้า)

อีกจุดหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการซื้อ ก็คือจุดชำระเงิน จุดนั้นเป็นจุดที่ลูกค้าใช้เวลาในการตัดสินใจซื้อสั้นมาก ถ้าถูกใจก็ซื้อเลยเพราะพร้อมที่จะควักเงินในกระเป๋าออกมาจ่ายอยู่แล้ว จึงเหมาะที่จะเป็นจุดสำหรับใช้ในการโปรโมทสินค้าสำคัญ

แล้วว่ากันด้วยเรื่องของโทนสีในร้าน สีโทนร้อนทำให้ลูกค้ามีความอยากซื้อเพิ่มขึ้น

นอกจากนั้นการให้ข้อมูลณจุดขาย ด้วยใบข้อมูลที่เราทำขึ้นมาเองในร้าน เช่นการทำตารางเปรียบเทียบให้กับลูกค้า จะช่วยให้ลูกค้าตัดสินใจง่ายขึ้น ลูกค้าจะสามารถพิจารณาเกณฑ์การตัดสินใจโดยไม่จำเป็นที่จะต้องไปหาข้อมูลเพิ่มจากที่ไหนอีกหรือแม้แต่การเดินจากไปด้วยความงุนงงโดยไม่ได้ซื้อสินค้าใดๆเลย เราอาจนำเช่นบางอย่างเช่น คุณสมบัติของสินค้า ประสิทธิภาพ ราคา ของสินค้าแต่ละแบรนด์นำมาเปรียบเทียบให้ดูง่ายขึ้น

การมีป้ายจัดอันดับสินค้าขายดีก็มีส่วนเหมือนกันที่จะช่วยให้ลูกค้าลองพิจารณาดูว่า ยังมีสิ่งที่เราขาดอยู่หรือไม่ก่อนออกจากร้าน

ในแต่ละช่วงของปีก็จะมีผลต่อยอดขายของสินค้าแต่ละตัวไม่เท่ากัน

ผู้บริหารร้านค้าอาจจะลองพิจารณาดูก็ได้ว่าในแต่ละช่วงของปีมีสินค้ากลุ่มไหนที่น่าจะสามารถจัดกลุ่มกันได้เป็นสินค้า highlight ของแต่ละฤดูกาล ยกตัวอย่างเช่น ช่วงฤดูร้อนลูกค้าจะมีเหงื่อ มีกลิ่นตัว และต้องเจอกับแดดที่แรง แล้วคิดว่าสินค้ากลุ่มไหนที่ควรจะนำมาโปรโมทในฤดูกาลนี้เป็นพิเศษครับ ในขณะที่ฤดูฝน/ฤดูหนาว คนอาจจะเป็นหวัดกันเยอะ หน้ากากอนามัยหรือสินค้าที่เกี่ยวข้องกับโรคหวัดก็อาจจะถูกนำมาโปรโมทได้

ลือกทำเลขายของอย่างไร? ให้ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

การที่เราจะลงทุนทำการค้าขายนั้นทำเล คือปัจจัยที่มีความสำคัญมากเป็นอันดับ 2 รองลงมาจากตัวสินค้า เพราะต่อให้สินค้าของเราจะดีเลิศแค่ไหน แต่ถ้าทำเลการขายไม่ดี ก็มีสิทธิ “เจ๊ง” กันได้ง่ายๆ

ดังนั้น ก่อนที่เราจะลงมือทำการค้าขายสินค้า และบริการอย่างใดอย่างหนึ่ง เราจึงจำเป็นต้องเลือก “ทำเล” ที่จะทำการค้าให้ดีเสียก่อน แต่สำหรับคนที่เพิ่งจะเป็นพ่อค้าแม่ค้ามือใหม่ อาจจะยังไม่รู้ว่าควรเลือกทำเลไหนดี ถึงจะค้าขายได้อย่างเป็นเทน้ำเทท่า หรือไม่ บางคนก็เกิดความเข้าใจผิดใหญ่หลวงเกี่ยวกับการเลือกทำเล จนสุดท้าย สินค้าที่อุตส่าห์จัดเตรียมมาก็ขายได้น้อยกว่าที่ตั้งเป้าไว้ หรือร้ายกว่านั้น บางคนขายของไม่ออกเลย เพราะฉะนั้นเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาดังกล่าวขึ้น วันนี้เราจะมาดูกันว่า ควรเลือกทำเลค้าขายอย่างไร จึงจะขายของได้ดี

เลือกทำเลขายของอย่างไร ให้ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

เริ่มจากข้อแรก ทำเลค้าขายที่ดี ต้องเป็นพื้นที่ที่มีคนเดินผ่านไปมาอยู่เป็นประจำ หรืออยู่ในที่ชุมชน เพื่อเพิ่มโอกาสในการหาลูกค้าเข้าร้านมาซื้อสินค้าของเรา ยิ่งถ้าเป็นจุดที่เป็นแหล่งดึงดูดคนให้เข้ามาได้มากๆ ก็ยิ่งดี แต่ทั้งนี้ เราต้องตรวจสอบค่าเช่าพื้นที่ด้วยว่ามีราคาแพงเกินไปหรือเปล่า หากพบว่าจุดที่มีคนเข้ามามากๆ นั้นมีค่าเช่าที่ค่อนข้างแพง เราก็อาจจะเลือกจุดที่มีคนน้อยลงมาหน่อย แต่ยังอยู่ในระดับที่เอื้อต่อการขายของ และมีค่าเช่าถูกลงด้วยก็ได้ แต่ไม่ควรไปขายในจุดที่มีคนน้อยเกินไป นานๆ จะผ่านมาที่ร้านเราสัก 1-2 คน เพราะจะทำให้โอกาสในการหาลูกค้าเข้าร้านของเรานั้นลดน้อยลง

ทำเลขายของที่ดีประการต่อมา คือ ต้องเป็นทำเลที่มีร้านขายของประเภทเดียวกับเราในจำนวนที่ไม่มาก อย่างมากสุดไม่ควรเกิน 5 ร้าน เพื่อให้การเฉลี่ยลูกค้า และการแข่งขันกันระหว่างร้านลดน้อยลง ลองนึกภาพดูว่าหากเราต้องการขายข้าวราดแกง แต่ในทำเลที่เราต้องการนั้นมีร้านขายข้าวราดแกงอยู่ 10 ร้าน ถ้าเรายังดันทุรังขายในทำเลนั้นต่อไป การจะสร้างฐานลูกค้าก็นับว่าเป็นเรื่องยาก ยิ่งถ้าในทำเลนั้นมีร้านเก่าแก่ที่เป็นที่นิยมอยู่ถึง 2 ร้าน ก็ยิ่งมีโอกาสสูงเข้าไปใหญ่ที่เราจะขายไม่ได้ ตรงกันข้าม หากเรานำข้าวราดแกงนี้ไปขายในทำเลที่มีร้านดั้งเดิมอยู่แค่ร้านเดียว การจะดึงลูกค้าให้เข้ามากินร้านเราก็จะยิ่งเป็นเรื่องง่ายขึ้น เพราะฉะนั้น ก่อนจะขายของในที่ใดๆ ควรตรวจสอบดูก่อนว่าในที่นั้นมีการขายของประเภทเดียวกับเราอยู่แล้วหรือเปล่า แล้วค่อยตัดสินใจต่อไป

เลือกทำเลขายของอย่างไร ให้ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

ทำเลขายของที่ดีประการที่สาม คือ ต้องเป็นจุดที่ลูกค้าสามารถเข้าถึงได้ง่าย ข้อนี้ถือว่าสำคัญ เนื่องจากมีหลายๆ คน ที่เปิดร้านในจุดที่เข้าถึงยาก อย่างเช่นในซอยแคบๆ ที่เข้าลำบาก หรืออยู่ริมถนนใหญ่บริเวณทางสามแพร่ง ที่ไม่มีที่ให้ลูกค้าสามารถเดินเข้าร้าน หรือจอดรถเพื่อเข้าร้านได้ สุดท้ายต่อให้สินค้าดีแค่ไหน ลูกค้าก็เกิดความเอือมที่จะเข้ามายังร้าน และย้ายไปซื้อของจากร้านที่เข้าถึงสะดวกกว่า ดังนั้น ใครที่กำลังมองหาทำเลค้าขายอยู่ ขอให้คำนึงถึงปัจจัยข้อนี้ด้วย

ทำเลขายของที่ดีประการที่สี่ คือ ควรอยู่ในจุดที่มีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายชุมนุมอยู่ พ่อค้าแม่ค้าหลายคนพลาดไปกับประเด็นนี้ ไปตั้งร้านขายของในที่ๆ ไม่ค่อยมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ยกตัวอย่างง่ายๆ ก็เช่น ไปตั้งร้านขายเครื่องเขียนในพื้นที่ที่ไม่ค่อยมีนักศึกษา หรือผู้ที่มีความจำเป็นต้องใช้เครื่องเขียนมากนัก หรือตั้งร้านขายสังฆภัณฑ์ในจุดที่ห่างจากศาสนสถานมาก ผลที่ตามมาคือทำให้การขายสินค้าเป็นไปได้น้อยมาก ในทางตรงกันข้าม ร้านขายเครื่องเขียนที่ตั้งอยู่ใกล้กับโรงเรียน หรือร้านขายสังฆภัณฑ์ที่ตั้งอยู่ใกล้ศาสนสถาน จะมีแนวโน้มในการขายสินค้าได้ดีกว่า เพราะฉะนั้นก่อนจะตัดสินใจเลือกทำเลใดๆ ควรตรวจสอบสภาพแวดล้อมในบริเวณใกล้เคียงก่อนว่า มีแนวโน้มที่จะมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายไหม หากพบว่ามีน้อย ขอให้ลองเฟ้นหาทำเลอื่นๆ ดูบ้างจะดีกว่า

เลือกทำเลขายของอย่างไร ให้ขายดีเป็นเทน้ำเทท่า

ทำเลขายของที่ดีประการสุดท้าย คือ ควรเป็นพื้นที่ที่ไม่มีเหตุการณ์ หรือสภาพแวดล้อมอันไม่พึงประสงค์ที่เป็นตัวขัดขวางการค้าขายของเรา เช่น พื้นที่ที่มักมีเหตุทะเลาะวิวาทระหว่างกลุ่มบุคคล พื้นที่ที่กฎหมายไม่อนุญาตให้ทำการค้าขาย หรือพื้นที่ที่สกปรก มีน้ำครำ แมลงสาบ แมลงวันชุกชุม รวมไปถึงพื้นที่ที่มีฝุ่น ควัน อันเกิดจากการก่อสร้าง และโรงงานอุตสาหกรรมในบริเวณใกล้กัน พื้นที่ที่มีลักษณะดังกล่าวนี้ล้วนแล้วแต่เป็นตัวขัดขวางการค้าขายไม่ให้สามารถทำได้ และทำให้ความน่าซื้อของสินค้าที่เรานำมาขายลดลงทั้งสิ้น เพราะฉะนั้น หากทำเลใดมีลักษณะดังต่อไปนี้ ขอให้หลีกเลี่ยงเสีย

ทำเลขายของ ถือเป็นปัจจัยสำคัญลำดับต้นๆ ในการที่จะดำเนินการขายสินค้า แต่ในขณะเดียวกัน การเลือกทำเล ก็ไม่ใช่ว่าจะมีผลกับการค้าขายไปเสียหมด การบริหารจัดการร้านค้าให้ดีก็เป็นสิ่งสำคัญ หากเราได้ทำเลทอง แต่ไม่บริหารการค้าขายให้ดี ขายแพงเกินไป สินค้าคุณภาพแย่ ก็มีสิทธิเจ๊งได้ ในขณะเดียวกัน ต่อให้เราตั้งร้านค้าในทำเลที่ไม่ดีที่สุด แต่บริหารจัดการร้านค้าดี สินค้าดี ราคาถูก ทำเลรองนั้นก็สามารถกลายเป็นทำเลทองได้ไม่ยาก

การออกแบบ และ ตกแต่งร้านค้า

การออกแบบและ ตกแต่งร้านค้า ที่ดี นั้นจำเป็นต้องมีดีไซน์(Design) ดีไซน์ ในที่นี้หมายถึง ทุกอย่างที่ลูกค้ารับรู้ สัมผัสได้ว่าร้านค้าเป็นอย่างไรทั้งจากสภาพภายนอกร้านค้า (Exterior design) และสภาพภายในร้านค้า (Interior design)

สภาพภายนอกร้านค้า (Exterior design)

สำหรับสภาพภายนอกร้านค้านั้น สิ่งที่ผู้ค้าปลีกจะต้องให้ความสนใจ ของร้านค้าปลีกก็คือ สภาพภายนอกของร้านค้าปลีกเป็นประการแรกก่อน ผู้ค้าปลีกจึงต้องเข้าใจพฤติกรรมดังกล่าวของผู้บริโภค เพื่อจะปรับสภาพภายนอกของร้านให้เข้ากับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งนั่นหมายความว่าผู้ค้าปลีกจะสามารถดึงดูดลูกค้าได้มาก สภาพภายนอกของร้านค้าปลีกที่ต้องพิจารณาประกอบด้วย ป้ายหน้าร้าน ทางเข้าร้าน หน้าต่างโชว์หรือกระจกหน้าร้าน และภาพรวม ทั้งหมดของร้าน

1. ป้ายหน้าร้าน สำหรับป้ายหน้าร้านของร้านค้าปลีกแต่ละแห่งจะบ่งบอกถึงเอกลักษณ์ของร้านค้าปลีก นั้นๆ โดยทั่วไปป้ายหน้าร้านจะประกอบด้วยชื่อร้าน และเครื่องหมายสัญลักษณ์ (logo) ของร้าน เช่น ร้านแฮมเบอเกอร์แมคโดนัลด์ จะมีสัญลักษณ์ รูปโค้งคล้ายรุ้งสีทองและตัวการ์ตูนรอดเจอร์อยู่หน้าร้าน หรือถ้าเห็นร้านค้าที่มีแถบสีแดง-เขียว-ส้ม พร้อมกับชื่อ 7-ELEVEN ก็เป็นที่แน่ใจได้ว่าร้านคือ ร้านเซเว่นอีเลฟเว่น ป้ายหน้าร้านจึงเป็นสิ่งที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของร้านค้าปลีกแต่ละร้าน

– การตั้งชื่อร้านค้า ก็เป็นสิ่งหนึ่งที่ผู้ค้าปลีกไม่ควรจะละเลย เพราะการตั้งชื่อร้านเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะสะท้อนถึงตำแหน่งของร้านค้า (positioning) ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายและประเภทของบริการ หากจะเปิดร้านเบเกอรี่ที่มีคุณภาพรองรับลูกค้าระดับสูงก็ไม่ควรตั้งชื่ออาทิ “ สมควรเบเกอรี่ ” ควรจะเป็นชื่อที่ทันสมัยและเป็นภาษาต่างประเทศทางยุโรปจะเหมาะกว่า หรือหากเป็นร้านค้าของเก่าโบราณก็ไม่ควรทำป้ายชื่อร้านและเครื่องหมาย สัญลักษณ์หรือโลโก้ให้ดูทันสมัย

2. ทางเข้าร้านค้า หน้าร้านมักจะเป็นหน้าตาของร้านและ เป็นฝ่ายขายของร้าน ฉะนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องให้ความสนใจเกี่ยวกับหน้าร้านมากเป็นพิเศษ ประตูทางเข้าร้านร้านค้าควรจะกว้างพอที่ผู้บริโภคจะเดินผ่านไปมาได้อย่าง สะดวกหากร้านค้าปลีกบางแห่งตั้งอยู่หัวมุมถนน ให้พิจารณาด้านที่มีผู้คนสัญจรไปมามากที่สุดเป็นประตูทางเข้าหลัก ตำแหน่งที่ตั้งแคชเชียร์เพื่อเก็บเงินหรือคิดเงินลูกค้า ควรตั้งอยู่บริเวณที่สามารถมองประตูเข้าออกได้ชัดเจน ไม่มสิ่งใดมาบดบงทัศนวิสัยของแคชเชียร์

3. หน้าต่างโชว์ การใช้หน้าต่างเป็นที่โชว์สินค้าเป็นที่นิยมกันในยุคปัจจุบัน ซึ่งถือว่าเป็นดวงตาของร้านค้า จากการวิจัยพฤติกรรมผู้บริโภคพบว่าร้อยละ 32 ของผู้หญิงจะให้ความสนใจมองหน้าต่างร้านค้า ส่วนอีกร้อยละ 40 จะเดินเข้าไปดูใกล้ๆ เลยทีเดียว ฉะนั้นลักษณะของการจัดแสดงสินค้าและชนิดของสินค้าที่นำมาแสดงจะมีผลทำให้คน เข้าร้านหรือไม่เข้าร้านได้ ร้านค้าแต่ละประเภทจึงมีการจัดหน้าต่างโชว์ในลักษณะต่างๆตามความเหมาะสม